พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร แล้วจะมีผลอย่างไรกับคนทำการตลาดออนไลน์บ้าง วันนี้ ทาง Growth Maker จะพาคุณไปทำความรู้จักและทำความเข้าใจกันในแบบง่ายยิ่งขึ้น พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร ? ว่าด้วยกฏหมายแล้ว
พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562
PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 มีขึ้นเพื่อให้เอกชนและรัฐที่เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย หรือ ถ่ายเท / โอน ‘ข้อมูลส่วนบุคคล’ ในไทยให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิส่วนตัว โดยต้องขอความยินยอมจาก ‘เจ้าของข้อมูล’ ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
และข้อมูลอะไรบ้างล่ะ ที่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ??
ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ชื่อ นามสกุล
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน
สิ่งระบุอัตลักษณ์ออนไลน์
ปัจจัยอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันทางกายภาพ สรีรวิทยา พันธุกรรม จิตใต เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือสถานะของทางสังคมของบุคคลธรรมดา
หากอยากรู้ว่าข้อมูลใดเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ จำเป็นจะต้องพิจารณาจากบริบทของข้อมูลนั้นๆ ประกอบด้วยว่า สามารถทำให้ระบุตัวบุคคลนั้นๆ ได้หรือไม่ ซึ่งกฏหมายไทยบัญญัติสอดคล้องกับกฏหมายในหลายๆ ประเทศที่กำหนดบทนิยามของข้อมูลส่วนบุคคลไว้แบบ ”ปลายเปิด” เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ที่มา : มาตรา6 แห่ง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) มีอะไรบ้าง ?
- สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)
- สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)
- สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)
- สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)
- สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล (Right to erasure (also known as right to be forgotten)
- สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)
- สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)
แล้วหมายความว่า หลังจากนี้ เราในฐานะคนทำการตลาดออนไลน์ จะยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล หรือเปิดเผยข้อมูลได้หรือไม่ ?
เรายังสามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้
โดยได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล
- จำเป็นเพื่อใช้ในกฏหมาย หรือ สัญญา
- จัดทำโดยเป็นประโยชน์โดยชอบด้วยกฏหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
- จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ และการปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ
PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะส่งผลกระทบในแง่ของการตลาดออนไลน์ หรือ การทำธุรกิจจะมีมากน้อยแค่ไหน เราจะขอชี้แจ้งคร่าวๆให้ๆได้เข้าใจกันมากขึ้น หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน
ในปัจจุบันการทำการตลาดออนไลน์ Digital Marketing ธุรกิจออนไลน์ต่างๆ เราต้องใช้ ข้อมูลมหาศาลและหลากหลายรูปแบบในการเสาะหาลูกค้าบนดลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลจาก ลูกค้าที่เข้าเว็บไซต์เรา ไปจนถึงลูกค้าที่มาใช้บริการกับเรา ทีนี้เราควรจะต้องเข้าใจ Process ทั้งหมด ของการจะเก็บข้อมูลลูกค้าก่อนว่า เราจะเก็บไปเพื่อทำอะไรบ้าง และจะมีการดูแลข้อมูลเหล่านี้อย่างไร และก่อนเกิดเหตุนั้นเรามีการวางแผนการป้องกันไว้อย่างไร และเมื่อถึงคราวเกิดเหตุแล้ว เรามีการแก้ไข หรือดำเนินการใดๆ ต่อไปบ้าง เพื่อระงับเหตุที่เกิดได้อย่างเหมาะสม
หากไม่ทำตามอาจได้รับโทษดังนี้
-ทางแพ่ง ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และอาจต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นอีก โดยสูงสุดไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง
– โทษทางอาญา จำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
– โทษทางปกครอง ปรับสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท
ส่วนนี้ทาง Growth maker Marketing เราทำการตลาดออนไลน์ให้คุณเติบโต ขอนำความรู้เรื่อง PDPA พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในแง่ของการทำการตลาดออนไลน์ ไว้เพียงเท่านี้ก่อน แล้วพบกันใหม่กับบทความหน้า
และหากคุณกำลังสนใจทำการตลาดออนไลน์ แต่ยังไม่มีที่ปรึกษาในด้านการทำการตลาดออนไลน์ คุณสามาถติดต่อมาปรึกษาสอบถาม เรื่องเกี่ยวกับการทำการตลาดออนไลน์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดใด เพียงแอดไลน์มาที่ @Growthmaker เรามีเจ้าหน้าที่รอให้บริการท่านอยู่ครับ